ซิลิโคน (Silicone)
มาจาก ซิลิคอน (Silicon) ซึ่งสกัดได้จาก ผลึกแร่ควอตซ์ การผลิต ยางสังเคราะห์ ในขั้นนี้จะต้องเชื่อมสารในกลุ่มอินทรีย์ เช่น เมทิล เฟนิล และไวนิล กับอะตอมของซิลิคอน การเพิ่มที่แตกต่างกันอาจทำให้คุณสมบัติเปลี่ยนแปลงไปได้มาก เช่น ซิลิโคนทนต่อความร้อน ไอลมร้อน และแสงอาทิตย์ เป็นฉนวนที่มีความเสถียรมาก และยังทนต่อน้ำมัน ต่อสารเคมี และสารละลายได้อีกหลากหลายชนิด ในบรรดาวัสดุประเภทยางทั้งหมด ยางซิลิโคนมีคุณสมบัติที่มีความยืดหยุ่นมากที่สุดในที่อุณหภูมิต่ำ แต่มีจุดอ่อนเรื่องความต้านทานต่อแรงดึงต่ำ ทนทานต่อการฉีก หรือการสึกน้อย
ความผันแปรอื่นๆ
• ซิลิโคนสามารถใช้สูตรที่มีเฉพาะส่วนผสมในรายการที่อนุญาต “White list” ตามที่กำหนดใน 21.CFR 177.2600 เพื่อใช้งานในสภาวะที่ยางต้องสัมผัสกับ อาหาร และเครื่องดื่ม
• ซิลิโคนสามารถยื่นขออนุมัติจาก National Sanitation Foundation (NSF) เพื่อนำมาใช้กับการใช้งานเกี่ยวกับน้ำดื่มได้
• ซิลิโคนมักจะนำมาใช้ในระบบยานยนต์อย่าง ฝากระโปรงท้าย วาล์วไส้กรองน้ำมันเครื่อง ประเก็นในระบบไฟฟ้า เป็นต้น
• ชิ้นส่วนซิลิโคนสามารถใช้ในระบบทางการแพทย์ ซึ่งกำหนดให้ต้องปฏิบัติตามมาตรฐาน USP CLASS VI
ข้อมูลทั่วไป
การกำหนด ASTM D 1418: Q, MQ, VMQ, PVMQ
การกำหนด ISO/DIN 1629: Q, MQ, VMQ, PVMQ
รหัส ASTM D2000 /SAE J 200: FC, FE, GE
สีมาตรฐาน: สีสนิม
ช่วงความแข็ง: 25 ถึง 90 Shore A
ต้นทุนเปรียบเทียบ : ปานกลาง – สูง
อุณหภูมิในการใช้งาน
มาตรฐาน ณ อุณหภูมิต่ำ: -60°C / -76°F
มาตรฐาน ณ อุณหภูมิสูง: 225°C / 437°F
อุณหภูมิต่ำสำหรับ สูตรพิเศษ: -100C / -150°F
อุณหภูมิสูงสำหรับ สูตรพิเศษ: 300°C / 572°F
ใช้งานได้ดีใน
-น้ำมันเครื่องและน้ำมันเกียร์ (มิเนอรัลออยล์)
-สารละลายเกลือเจือจาง
-น้ำที่มีคุณภาพระดับปานกลาง
-อากาศร้อนและแห้ง
-ทนทานต่อโอโซน สภาพอากาศ
ใช้งานได้ไม่ดี
-กรดและด่างเข้มข้น
-ไอน้ำที่มีอุณหภูมิสูงกว่า 120 °C
-น้ำมันปิโตรเลียมและเชื้อเพลิง
-คีโตน